การเตรียมความพร้อมสถานที่ผลิตอาหาร


  1. GMP มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ GMP มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร
    • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก คลิก
    • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 420 พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร คลิก
      • การศึกษาด้วยตนเอง คลิก
      • คลิปการบรรยาย จากกองอาหาร อย. คลิก
      • คู่มือการตรวจประเมิน คลิก
  2. ความรู้สำหรับผู้ผลิตอาหาร คลิก
    • การออกแบบสถานที่ผลิตอาหารที่ถูกสุขลักษณะ คลิก
    • เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ที่ถูกสุขลักษณะ คลิก
    • การตรวจสอบแรงม้าของเครื่องจักร และ วิธีคำนวณแรงม้าเปรียบเทียบ คลิก
    • การใช้วัตถุเจือปนอาหาร คลิก
    • การควบคุมกระบวนการผลิต คลิก
    • ภาชนะบรรจุอาหาร คลิก
    • การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตอาหาร คลิก
    • การควบคุมและกำจัดสัตว์และแมลง (Pest Control) คลิก
    • เอกสารที่จำเป็น (บันทึกผล + วิธีการบันทึกที่ถูกต้อง) ตัวอย่างสำหรับข้อกำหนดพื้นฐาน คลิก
    • เอกสารที่จำเป็น (บันทึกผล + วิธีการบันทึกที่ถูกต้อง)  ตัวอย่างกรณีผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค คลิก
    • สุขลักษณะส่วนบุคคล (Personal Hygiene) คลิก
    • การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ คลิก
    • รายการตรวจวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สุดท้ายสำหรับอาหารทุกประเภท เพื่อทวนสอบประสิทธิผลของระบบ GMP ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร คลิก

การขอเปิดสิทธิ์เพื่อเข้าใช้ระบบ e-Submission ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

  1. การเปิดสิทธิ์เข้าใช้งานระบบ คลิก ผู้ยื่นคำขอดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอเปิดสิทธิ์ แล้วมายื่นขอเปิดสิทธิ์ ที่ OSSC สสจ.ปัตตานี เพื่อให้เจ้าหน้าที่เปิดสิทธิ์ให้ ภายใน 1-3 วันทำการ
    • กรณีผู้ดำเนินกิจการหรือผู้รับอนุญาต(เจ้าของ) เข้าใช้งานระบบด้วยตนเอง ให้ใช้แบบฟอร์มมการขอเปิดสิทธิ์เข้าใช้ระบบยื่นคำขอด้านอาหารทางอินเทอร์เน็ต (E-Submission) สำหรับผู้ดำเนินกิจการ หรือผู้รับอนุญาต คลิก
      • กรณีเป็นผู้ดำเนินกิจการเป็นชื่อบุคคลคนเดียว ยื่นหลักฐาน ได้แก่
        • สำเนาบัตรประชาชน
        • สำเนาใบอนุญาตฉบับปัจจุบัน (ทุกหน้า)
        • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (หน้าแรก) (กรณีผู้รับอนุญาตเป็นนิติบุคคล)
        • กรณีผู้รับอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา แนบสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
      • ผู้ดำเนินกิจการเป็นชื่อบุคคลมากกว่า 1 และอำนาจลงนามร่วม กรณีนี้จะยื่นคำขอทาง e-Submission ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งดำเนินการ
      • กรณีเป็นผู้รับอนุญาตเป็นนิติบุคคล หากมีอำนาจลงนามได้เพียงคนเดียว ให้ยื่นหลักฐาน ดังนี้
        • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (หน้าแรก)
        • สำเนาบัตรประชาชน
      • กรณีผู้รับอนุญาตเป็นชื่อบุคคลมากกว่า 1 และอำนาจลงนามร่วม กรณีนี้จะยื่นคำขอทาง e-Submission ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งดำเนินการ
      • กรณีผู้รับอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา ให้ยื่นสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
    • กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเข้าใช้ระบบแทน ให้ยื่นหนังสือมอบอำนาจ คลิก ซึ่งระบุช่วงเวลามอบอำนาจไม่เกิน 3 ปี ติดอากรแสตมป์ 30 บาท (30 บาท/ผู้รับมอบอำนาจ แนะนำให้ทำต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบ ได้แก่
      • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล อายุไม่เกิน 6 เดือน/ หรือใบทะเบียนพาณิชย์
      • สำเนาบัตรประชาชน ที่ยังไม่หมดอายุและอ่านได้ชัดเจนของผู้มอบอำนาจ/ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทได้
      • สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ
      • สำเนา PASSPORT และ WORK PERMIT (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
  2. การเตรียมความพร้อมการใช้งานระบบ e-Submission (อาหาร) คลิก
    • การสมัครบัญชีผู้ใช้งาน Open ID
    • การขอเปิดสิทธิ์เข้าใช้งานระบบ e-Submission (อาหาร)
    • โปรแกรมที่จำเป็นต่อการใช้งานระบบ

ขั้นตอนตรวจประเมินสถานที่ผลิต 

  1. ยื่นรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลหลัก (Master Data) รายละเอียดเป็นไปตามเอกสาร
    • แบบตรวจสอบคำขอและบันทึกข้อบกพร่อง การขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร เพื่อการอนุญาตผลิตอาหาร กรณีขออนุญาตผลิตอาหารสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ขั้นตอนที่ 1) คลิกเพื่อดาวน์โหลด
    • โดยเจ้าหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลหลัก Master Data ภายใน 1-2 วันทำการ
  2. ยื่นขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหารในระบบ e-Submission รายละเอียดเป็นไปตามเอกสาร
    • เอกสารคู่มือการใช้งานสำหรับผู้ประกอบการ: การยื่นคำขอตรวจประเมินสถานที่ คลิกเพื่อดาวน์โหลด 
    • สถานที่ผลิตต้องชำระเงินค่าตรวจประเมินสถานที่ก่อน (3,000 บาท) คำขอจึงจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกคำขอ
    • โดยการชำระเงินค่าคำขอ จะเป็นไปตาม เอกสารคู่มือการใช้งานสำหรับผู้ประกอบการ: การออกใบสั่งชำระและการรับใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ คลิกเพื่อดาวน์โหลด
    • หมายเหตุ: กรณีวิสาหกิจชุมชน, กองทุนหมู่บ้าน ที่เครื่องจักรแรงม้าน้อยกว่า 5 แรงม้า และคนงานน้อยกว่า 7 คน, โครงการในพระราชดำริ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม ตาม ม.44
  3. เจ้าหน้าที่นัดตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร และออก Audit Report ในระบบ e-Submission
  4. ผู้ประกอบการเข้าไปชำระเงินค่าตรวจประเมินสถานที่ ส่วนต่างในระบบ e-Submission คลิกเพื่อดาวน์โหลด

ขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร (การยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร (อ.1) หรือคำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ.1/1) )

  1. รายละเอียดการยื่นขอใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร รายละเอียดเป็นไปตามเอกสาร คู่มือการใช้งานสำหรับผู้ประกอบการ: การยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารแห่งใหม่ คลิกเพื่อดาวน์โหลด 
  2. โดยรายละเอียดในคู่มือข้างต้นจะมีวิธีการชำระเงินค่าคำขอ
    • คำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน ฉบับละ 1,000 บาท
    • คำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร ฉบับละ 2,000 บาท
  3. เจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ และหากมีการแก้ไขให้ผู้ยื่นคำขอเข้าไปตรวจสอบในระบบเพื่อแก้ไขเอกสารหลักฐาน ก่อนที่จะดำเนินการออกใบอนุญาตได้
  4. เมื่อใบอนุญาตอนุมัติ ผู้ยื่นคำขอต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต แบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
    • กรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน (สบ.1/1) ไม่มีค่าธรรมเนียม
    • กรณีเข้าข่ายโรงงาน (อ.2) มีค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 10,000 บาท
  5. ผู้ประกอบการรับใบอนุญาตที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
  6. ค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอจะอ้างอิงจาก “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร พ.ศ. 2560” บัญชี 1 การพิจารณาคำขอและการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร คลิก
ช่องทางการติดต่อ ศูนย์ให้บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ
  1. โทรศัพท์ 088-590-9235
  2. ไลน์ออฟฟิเชียล https://lin.ee/OcveHhv
  3. Facebook งานคุ้มครองผู้บริโภค ปัตตานี https://www.facebook.com/fdapattani