ประวัติความเป็นมา

1:: ชื่อหน่วยงาน  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ::

2.    ความเป็นมาของหน่วยงาน

ในอดีต ศาลากลางจังหวัดปัตตานี เป็นที่ตั้งของ “ ที่ทำการอนามัยจังหวัดปัตตานี ”  ซึ่งได้ตั้งให้เป็นหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดปัตตานี ต่อจากนั้น เมื่อ พ.ศ. 2512   ได้ย้ายที่ทำการอนามัยจังหวัดปัตตานี มาตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสฤษดิ์ ตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ 3 งาน 362 ตารางวา และหลังจากนั้นจึงสร้างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2514 เสร็จแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อจาก “ที่ทำการอนามัยจังหวัดปัตตานี ” เป็น “สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ” เมื่อ พศ. 2518

ปัจจุบันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีย้ายที่ทำการตั้งอยู่ที่ ม.6 ถ.สวนสมเด็จ อ.เมือง      จ.ปัตตานี 94000

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

 


ทำเนียบนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี


1.นายแพทย์เสงี่ยม  สร้อยมณีพศ.2500 – 2502
2.นายแพทย์สัญญา  เนตรพุกกณะพศ.2502 – 2512
3.นายแพทย์ประกอบ  บุญมงคลพศ.2512 – 2517
4.ร้อยตรีนายแพทย์วิจิตร  มุนินทรพศ.2517 – 2519
5.นายแพทย์สุชาติ  จันทร์บรรจบพศ.2519 – 2522
6.นายแพทย์จรัล  กาญจนรัตน์พศ.2522 – 2528
7.นายแพทย์ไตรวิทย์  เตมะหิวงศ์พศ.2528 – 2532
8.พันตรีนายแพทย์ธานี  กลิ่นขจรพศ.2532 – 2541
9.นายแพทย์ประศาสตร์  ผิวเรืองนนท์พศ.2541 – 2543
10.นายแพทย์สุเทพ  วัชรปิยานันทน์พศ.2543 – 2549
11.นายแพทย์ยอร์น  จิระนครพศ.2549 – 2556
12.นายแพทย์บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์พศ.2556 – 2559
13.นายแพทย์ชัยรัตน์ ลำโปพศ.2559 – ปัจจุบัน

3. อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี)

ตาม กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 ข้อ 20 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัด

(2) ดำเนินการให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด

(3) กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

(4) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัดให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง

(5) พัฒนาระบบสารสนเทศ งานสุขศึกษา และการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัด

(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี มอบหมายให้ข้าราชการในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ปฏิบัติราชการตามโครงสร้างและภารกิจ ดังนี้

1) กลุ่มงานบริหารทั่วไป

- งานการเงินและการบัญชี

- งานบริหารงบประมาณและการเฝ้าระวังทางการเงิน

- งานตรวจสอบและควบคุมภายใน

- งานพัสดุ ก่อสร้าง และการซ่อมบำรุง

- งานธุรการและการบริหารยานพาหนะ

- งานสำนักงานเลขานุการและอำนวยการ

- งานประชาสัมพันธ์

2) กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข

- งานพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพ

- งานข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

- งานนิเทศและประเมินผล

- งานสาธารณสุขพื้นที่พิเศษ/พื้นที่เฉพาะ

- งานนโยบายและโครงการพิเศษ เช่น โครงการพระราชดาริ สมัชชาสุขภาพ งานกระจายอำนาจ ฯลฯ

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข

3) กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ

- งานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย (แม่และเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน และ วัยผู้สูงอายุ)

- งานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

- งานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานส่งเสริมสุขภาพ

4) กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ

- งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป

- งานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่เฉพาะ

- งานสอบสวนโรค (งานประเมินปัญหาสุขภาพโรคติดต่อในพื้นที่/พัฒนาระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรค)

- งานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา

- งานบริหารจัดการภัยพิบัติ

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อ

5) กลุ่มงานนิติการ

- งานดำเนินการทางวินัยและเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม

- งานอุทธรณ์และร้องทุกข์

- งานกฎหมายและคดี (หมายรวมถึง พรบ.ต่างๆ เช่น พรบ.ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น)

- งานนิติกรรมและสัญญา

6) กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

- งานมาตรฐานผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการด้านสุขภาพ

- งานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

- งานพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์

- งานส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจสุขภาพ

- งานมาตรฐานสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

- งานอาหารปลอดภัย

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

7) กลุ่มงานประกันสุขภาพ

- งานบริหารจัดการข้อมูลผู้มีสิทธิ

- งานบริหารจัดการกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคม กองทุนแรงงานต่างด้าว เป็นต้น

- งานบริหารจัดการการเงินการคลัง

- งานคุ้มครองสิทธิ การรับเรื่องร้องเรียน

- งานบริหารการชดเชยและตรวจสอบเวชระเบียน

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานประกันสุขภาพ

8) กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ

- งานพัฒนาคุณภาพบริการทุกมาตรฐาน

- งานพัฒนาคุณภาพการบริหาร

- งานพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพอำเภอ

- งานสนับสนุนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

- งานพัฒนาระบบส่งต่อ

- งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์

- งานสนับสนุนการสร้างสุขภาพภาคประชาชน

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ

9) กลุ่มงานทันตสาธารณสุข

- งานพัฒนาระบบทันตสุขภาพ

- งานส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพตามกลุ่มวัย

- งานสนับสนุนบริการ ทันตกรรมในหน่วยบริการทุกระดับ

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานทันตสาธารณสุข

10) กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล

(1) งานบริหารกำลังคน

- งานวางแผนกาลังคน

- งานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง

- งานฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล

- ทะเบียนประวัติและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

- งานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์

- งานประเมินคุณสมบัติบุคคลและผลงานขึ้นดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น และงานประเมินผลการปฏิบัติราชการ

- งานเงินเดือน

(2) งานพัฒนาบุคลากร

- งานพัฒนาบุคลากร (ด้านบริการ ด้านบริหาร ด้านวิชาการ)

- งานส่งเสริมสนับสนุนการทางานวิจัย

- งานลาศึกษาและฝึกอบรม

11) กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

- งานอาชีวอนามัยและควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อม

- งานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม

- งานตามกฎหมายหรือ พรบ. อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. สาธารณสุข 2535 เป็นต้น

- งานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

12) กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อสุขภาพจิตและยาเสพติด

- งานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ)

- งานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

- งานอุบัติเหตุและบริการแพทย์ฉุกเฉิน

- งานป้องกันและควบคุมการบริโภคสุราและยาสูบ

- งานสุขภาพจิต

- งานยาเสพติดและงานบาบัดยาเสพติด

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด

13) กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

- งานพัฒนาระบบบริหารงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

- งานพัฒนาและส่งเสริมบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

- งานพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีทางการแพทย์แผนไทย

- งานวิชาการและพัฒนาบุคลากรแพทย์แผนไทยและงานวิจัย

- งานคุ้มครองภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

- งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

2.2 แผนยุทธศาสตร์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

วิสัยทัศน์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี (Vision)

“เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพ รวมพลังเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อประชาชนสุขภาพดี ภายในปี 2564”

ค่านิยม (Core Value)

M = Mastery   เป็นนายตนเอง

เป็นบุคคลที่หมั่นฝึกฝนตนเองให้มีศักยภาพ ยึดมั่นมั่นในความถูกต้อง มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบบนพื้นฐานของการมีสำนึก รับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรม

O = Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่

สร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งใหม่ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบสุขภาพ

P = People centered ใส่ใจประชาชน

ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการทำงานเพื่อประโยชน์อันดีแก่ประชาชน โดยใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้

H = Humility ถ่อมตนอ่อนน้อม

มีสัมมาคารวะ มีน้ำใจ ให้อภัย รับฟังความเห็น เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

วัฒนธรรมองค์กร

                   ปล่อยศักยภาพให้เต็มที่ ใช้ MOPH ในการทำงาน คิดบวกเพื่อปัตตานี

พันธกิจที่เพิ่มเติมเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์

1. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีสมรรถนะสูง (High performance Organization)

2. พัฒนาระบบบริการสุขภาพด้วยกระบวนการคุณภาพ

เป้าหมาย

1. ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

2. เจ้าหน้าที่มีความสุข

3. เครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ

4. ประชาชนสุขภาพดี

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์ในระยะ 5 ปี (2560-2564)

ยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ 4 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ
(Promotion Prevention & Protection Excellence)      

1. ร้อยละของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต District Health Board          ที่มีคุณภาพ (DHB)

2. ร้อยละของจังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT)ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง

3. ร้อยละของโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital

4. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

5. อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และอัตรากลุ่มสงสัยป่วย ความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

6. อัตราส่วนการตายมารดา

7. ร้อยละของเด็กปัตตานี (Pattani Smart Kids) มีสุขภาพแข็งแรง

8. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า

9. สัดส่วนจำนวนชมรมฯ และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE  ในสถานศึกษา ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1-3 เทียบกับเป้าหมายที่ควรดำเนินการ ในจังหวัด ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)

ตัวชี้วัด    10. ร้อยละของ รพ. ที่ใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (RDU)

11. ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ One Day Surgery

12. อัตราการเสียชีวิตของผู้เจ็บป่วยวิกฤติฉุกเฉิน ภายใน 24 ชม. ในรพ.ระดับ F2 ขึ้นไป (ทั้งที่ ER และ Admit)

13. ร้อยละของคลินิกหมอครอบครัวที่เปิดดำเนินการในพื้นที่ (PCC)

14. อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่

15. อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ

16. ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ยุทธศาสตร์ที่ 3ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)

ตัวชี้วัด   17. ร้อยละของหน่วยงานที่มีการนำดัชนีความสุขของคนทำงาน (Happinometer) ไปใช้

18. อัตราการคงอยู่ของบุคลากรสาธารณสุข (Retention Rate)

ยุทธศาสตร์ที่ 4ด้านบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

ตัวชี้วัด   19. ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน

20. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของส่วนราชการในสังกัด สนง.ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (PMQA)

21. ร้อยละของ รพ.สังกัดกระทรวงสธ. มีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรอง HA ขั้น 3

22. ร้อยละของ รพ.สต.ที่ผ่านเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพ รพ.สต.ติดดาว

23. ร้อยละของหน่วยบริการที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพข้อมูล

24. ร้อยละของหน่วยงานผ่านเกณฑ์ ITA ตรวจสอบภายใน

7. สถานที่ตั้ง/ เบอร์โทรศัพท์ / เบอร์โทรสาร / อีเมล /เวปไซต์ ของหน่วยงาน

สถานที่ตั้ง ถนนสวนสมเด็จ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000

โทรศัพท์ 0 73460 234 โทรสาร 0 73460 236

เวบไซต์ : www.sasukpattani.com

:::::::::::::::::::::::  เอกสารไฟล์สามารถดาวน์โหลดที่นี้   :::::::::::::::::::::::